รมต.เฉลิมชัย ตรวจความพร้อมสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 

News Update social

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับฟังบรรยายสรุปการเตรียมจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.. 2569 (UDONTHANI International Horticultural Exhibition Expo 2026 ณ พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่ง สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (International Association of Horticultural Producers : AIPH) ได้ประกาศการคัดเลือกอย่างเป็นทางการให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.. 2569 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา

สำหรับพื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ นี้ ตั้งอยู่ที่ ต.กุดสระ อ.เมือง จ.อุดรธานี ริมถนนมิตรภาพ สายอุดรธานีหนองคาย ห่างจากตัวเมืองอุดรฯ ประมาณ 4 .เนื้อที่ประมาณ 1,030 ไร่ แบ่งเป็น พื้นน้ำ 400 ไร่ และพื้นดิน 630 ไร่ คาดว่าจะทำให้มีจำนวนผู้เข้าชมงานถึง 3.6 ล้านคน เป็นชาวไทยร้อยละ 70 และชาวต่างชาติร้อยละ 30 มีจำนวนประเทศที่เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 20 ประเทศ/องค์กร/สมาคม มีระยะเวลาจัดงานระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 – 14 มีนาคม 2570 (134 วัน)

 

เมื่อเสร็จการจัดงานดังกล่าวแล้ว ทางจังหวัดอุดรธานีมีแผนจะอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าว เพื่อใช้ประโยชน์ต่อเนื่องเป็นศูนย์จัดแสดงนิทรรศการ ประเพณีวัฒนธรรม และศูนย์กลางกีฬานานาชาติ ของกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขงและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งการเป็นเจ้าภาพมหกรรมพืชสวนโลกในปี 2569 ครั้งนี้ คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก สามารถเพิ่มเงินสะพัดระหว่างการจัดงานได้ประมาณ 32,000 ล้านบาท เพิ่มมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ประมาณ 20,000 ล้านบาท และเกิดการสร้างงาน การจ้างงาน ประมาณ 81,000 อัตรา

วันนี้มาดูพื้นที่ในการจัดเตรียมงาน ซึ่งจะต้องร่วมมือกับทางจังหวัดและหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดเตรียมงาน โดยในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดเตรียมงบประมาณตั้งแต่ปี 2566 จากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน และประสานงานกับทางจังหวัดโดยผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องงบประมาณ ความพร้อมของพื้นที่ และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เพื่อให้งานพืชสวนโลกปี 2569 สมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้ ยังได้พูดคุยถึงการปรับปรุงการจัดเตรียมงาน และหลังจากจัดงานเสร็จ ทางนายก อบจ.อุดรธานี จะมาช่วยดูแลพื้นที่ตรงนี้ที่จะกลายเป็นมรดกของคนอุดรธานีต่อไป” ดร.เฉลิมชัย กล่าว