“มูลนิธิเรารักสงขลา” อบรมผู้นำเยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ปลุกสำนึก “รักบ้านเกิด”

News Update social

“สวนประวัติศาสตร์ สร้างประวัติศาสตร์”

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ดร. กมล รอดคล้าย ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จัดหลักสูตรอบรมและให้โอวาท ”แม่ไก่” เพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำและเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา โดยมี นายบัญญัติ จันทน์เสนะ เป็นประธานเปิดการอบรม นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานมูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก ผู้แทน ปตท. สผ. นายธันวา ลิ่มสถาพร ผอ. สพป. สงขลา 1 และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมกิจกรรมและให้โอวาทเเก่เด็กเเละเยาวชน ณ สวนประวัติศาสตร์ฯ สงขลา มูลนิธิสวนประวัติศาสตร์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มูลนิธิเรารักสงขลาเฉลิมพระเกียรติ

มูลนิธิเรารักสงขลา จับมือเป็นเครือข่ายการเรียนรู้กับกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ โดยจัดอบรมเยาวชนเพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำและเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา ค่ายที่ 1 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็นแม่ไก่ในครั้งนี้ ได้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นประธานนักเรียน กรรมการนักเรียน และผู้แทนสภานักเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสพป.สงขลา 1 จำนวน 25 คน โดยมีอาจารย์สืบสกุล ศรีสุข เป็นวิทยากรแกนนำ

การอบรมจะเน้นการสร้างผู้นำ สร้างจิตสำนึกรักแผ่นดินเกิด โดยมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุคคลต้นเเบบ รวมทั้งเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองสงขลา สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสงขลากับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้นักเรียนรักและภูมิใจในชาติ พร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดินเกิด และร่วมสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมสันติสุขในอนาคต

 

ผู้เข้ารับการอบรมจะได้สัมผัสบรรยากาศที่หลากหลาย และเรียนรู้อย่างสนุก ทั้งในเรื่องของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนานของเมืองสงขลา “เมืองมรดกโลก” จนกระทั่งหลอมรวมเป็นผืนแผ่นดินเดียวกับขวานทองของไทยในปัจจุบัน เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย “กว่าไทยจะเป็นไทยในวันนี้” และปลุกสำนึกรักบ้านเกิด

การจัดกิจกรรมนี้ จะมีขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อเนื่องทุกเดือน ซึ่งจะมีจัด อีก 3 รุ่น สำหรับนักเรียนในสังกัด สพป. สงขลาทั้ง 2 เขต 3 และสพม. สงขลา สตูล โดย รุ่น 2 จะจัดขึ้นในวันที่ 27-29 มค สพป.2 เด็ก 25 คน รุ่น 3 วันที่ 17-19 กพ สพป.3 เด็ก 25 คน และรุ่น 4 วันที่ 17-19 มีค สพม. เด็ก 25 คน เมื่อ”แม่ไก่” ที่ผ่านการอบรมกลับไปยังโรงเรียนของตน จะได้ขยายผลองค์ความรู้เหล่านี้ไปสู่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนต่อไป