“หลุยส์ วิตตอง” แบรนด์ที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี เป็นแบรนด์ที่หลายคนใฝ่ฝันและชื่นชอบในความเป็น ลักซ์ชัวรี แบรนด์ (Luxury Brand) และเมื่อ มีนาคม 2567 ที่ผ่านมานี้มีการเปิดคาเฟ่ Louis Vuitton แห่งแรกของประเทศไทย ในกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นแห่งที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สร้างความสนใจและเกิดเป็นกระแสฮิตเป็นอย่างมาก
แสนรู้ (Zanroo) ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลดาต้า ได้มีการเก็บข้อมูลการเปิด คาเฟ่ Louis Vuitton ที่แรกในไทยผ่าน Zanroo Social Listening Tool พบว่า มีการพูดถึงการเปิดคาเฟ่แห่งนี้ช่วงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 17 มีนาคม 2567 เพียง 20 วัน มียอดมีส่วนร่วม (Engagement) เช่น ยอดวิว แสดงความคิดเห็น กดไลก์ กดแชร์กว่า 10 ล้าน ครั้ง โดยมีที่มาจากช่องทาง TikTok กว่า 67% และมาจาก YouTube 14% จาก Instagram 12% และช่องทางอื่นๆ 7%
พบว่าในการความสนใจทั้งยอดวิว แสดงความคิดเห็น กดไลก์ กดแชร์อยู่ในช่วง Geeration Y มากที่สุด (อายุ 28 – 43 ปี) คิดเป็น 49% รองลงมา Generation Z (อายุ 12 – 27 ปี) คิดเป็น 31% , Generation X (อายุ 44 – 59 ปี) 20% ตามลำดับ โดยเป็นผู้หญิงกว่า 72% ผู้ชายคิดเป็น 28% ตามลำดับ ซึ่งเมนูที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอันดับ 1 คือ Star Blossom Cake เค้กชอคโกแลตผสมผสานคาราเมล มียอด Engagement จำนวน 56,000 ครั้ง รองลงมา Mango Sticky Rice Fizz เครื่องดื่มเย็นสดชื่นที่ได้แรงบันดาลใจจากข้าวเหนียวมะม่วงของไทย มียอด Engagement จำนวน 49,000 ครั้ง
เมื่อเทียบกับการกล่าวถึงแบรนด์ หลุยส์ วิตตอง ในช่วงก่อนการเปิดคาเฟ่ ”หลุยส์ วิตตอง (1 – 26 กุมภาพันธ์ 2567) พบว่า ยอดเอนเกจเมนท์เพิ่มขึ้นหลังเปิดตัวคาเฟ่ 950% กว่า 10 ล้าน Engagement จากในช่วงเดือนก่อนการเปิดตัวพบการมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดียประมาณ 950,000 Engagement บ่งบอกว่าแบรนด์กลับมาเป็นกระแส ทำให้ผู้คนสนใจในต้องการร่วมมีประสบการณ์ที่แตกต่างจากแบรนด์หรูที่คุ้นเคย นอกจากการได้ขยายธุรกิจแล้ว ทางแบรนด์ยังสามารถทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกดี สร้างความประทับใจ จากประสบการณ์ในคาเฟ่หรูได้อีกด้วย นับเป็นเทรนด์ที่แบรนด์หรูหลายแบรนด์ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น คริสเตียน ดิออร์ (Dior) มีการเปิดคาเฟ่ DIOR Café Seoul House of DIOR ที่ประเทศเกาหลีใต้ และ พราด้า (Prada) มีการเปิดคาเฟ่ Prada Caffè และร้านอาหารในประเทศอังกฤษ ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งกระแสที่น่าจับดูเป็นอย่างมาก