วันที่ 20 มกราคม 2565 : มูลนิธิรักษ์ตับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร มูลนิธิรักษ์เยาวชน สมาคมสภาพุทธศาสนิกสัมพันธ์ และสถานีโทรทัศน์ BMCTV ประกาศผลการประกวดภาพวาด หัวข้อ“หลวงปู่กับสมาธิและสันติภาพในมุมมองของฉัน” กิจกรรมน้อมรำลึก 152 ปีชาตกาล หลวงมั่น ภูริทัตโต ณ ธรรมสถานหลวงวิเศษสาครฤทธิ์ (สถานีโทรทัศน์ BMC TV) ซอยจรัญสนิทวงศ์ 22
พระอาทิตย์ อธิปุญโญ (วงศ์แสนสุข) ประธานจัดงานและผู้ประสานงาน 152 ปีชาตกาลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เล่าถึงที่มาของการจัดงาน ว่า “เราได้ทำกิจกรรมนี้มาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาตั้งแต่เมื่อครั้งครบ 149 ปี จนถึง 151 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งได้ผลักดันทั้งเรื่อง UNESCO บุคคลสำคัญของโลก สาขาสันติภาพ ปี 2563-2564 ซึ่งก่อให้เกิดกระแสตอบรับที่ดีต่อสังคมมาก
หลังจากที่อาจารย์ได้รับรางวัล ค่าของแผ่นดิน จึงเกิดความคิดในการสานต่องานองค์หลวงปู่มั่นให้ยั่งยืน โดยวางแผนจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อรำลึกถึงในวาระครบ 152 ปีชาตกาล และริเริ่มการจัดกิจกรรมประกวดภาพวาดชิงเงินรางวัลทุนการศึกษาในหัวข้อ “หลวงปู่มั่นกับสมาธิและสันติภาพ ในมุมมองของฉัน” เพื่อให้คนไทยได้เกิดแรงบันดาลใจในการศึกษาค้นคว้าชีวประวัติ ปฏิปทา ขององค์หลวงปู่มั่น แล้วนำมาใช้ในการวาดภาพ พร้อมเกิดการซึมซับธรรมะขององค์ท่านไปในตัวด้วย
เป็นกุศโลบายที่จะให้คนรุ่นใหม่และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาชีวประวัติ วัตรปฏิบัติ ขององค์หลวงปู่มั่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ด้วยการสอดแทรกศีลธรรมเข้าสู่ตัวเด็ก และประชาชน นับเป็นการสานต่อศรัทธา 152 ปีชาตกาล องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่เกิดจากความสนใจได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน”
สำหรับผลการประกวดภาพวาดชิงเงินรางวัลทุนการศึกษา ในหัวข้อ “หลวงปู่มั่นกับสมาธิและสันติภาพ ในมุมมองของฉัน” ผู้ได้รับรางวัล ได้แก่
- ระดับประถมศึกษา รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เด็กชายเจษฎา ทองบรรหา โรงเรียนวัดบ้านกล้วย จังหวัดสระบุรี รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ เด็กหญิงเอมมิกา บุญสวัสดิ์ โรงเรียนแย้มวิทยการ จังหวัดราชบุรี เด็กหญิงปุญญิศา สดใส โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลชมเชย ได้แก่ เด็กหญิงภัทรวดี สุทธิอาจ โรงเรียนบ้านหลุบเลา จังหวัดสกลนคร
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เด็กหญิงรุ่งอรุณ ภูมิหมื่น โรงเรียนอนุบาลพุทธเมตตา จังหวัดอุบลราชธานี รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ เด็กหญิงพรนิชา สุขสบาย โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ รางวัลชมเชย ได้แก่ เด็กชายณัฐพล แซ่แต้ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา จังหวัดชุมพร
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวพรทิพย์ สีหา โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวจณิสตา ลิ้มประเสริฐ โรงเรียนแก่นทองอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวลุด ไขสำแดง โรงเรียนมูลมังหลวงปู่ชอบฐานสโม จังหวัดเลย นายกิตติภัทร สิทธิวงศ์ โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ
รางวัลพิเศษ ได้แก่ นายธีรสิทธิ์ เรืองสา โรงเรียนวังสมบูรณ์วิทยาคม จังหวัดสระแก้ว
- ระดับมหาวิทยาลัย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายอนันต์ วงษ์ศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พระราชวังสนามจันทร์) จังหวัดนครปฐม รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ นางสาววรรณวารี นารายณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่รางวัลชมเชย ได้แก่ นายพงษ์ภูธาร ทำดี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
- บุคคลทั่วไป รางวัลชนะเลิศได้แก่ นายสุรพันธ์ ขวัญแสนสุข จังหวัดนครปฐม รางวัลรองชนะเลิศได้แก่ นายสุชาติ ขวัญหวาน จังหวัดนครปฐม รางวัลชมเชย ได้แก่ นายกตัญญู วัฒนาประดิษฐชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
นางสาวพรทิพย์ สีหา โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ ม.ปลาย ชื่อภาพ:ร่วมแรงกายสร้างแรงใจ กล่าวถึงแนวความคิดของภาพว่า “ใช้แนวคิดที่ว่า แม้หลวงปู่ มั่นจะละสังขารไปกว่า 70 ปีแล้ว พลังศรัทธาของพุทธบริษัทที่ รวมแรงร่วมใจจากพลังแห่งสันติภาพ และความมีสามัคคีธรรมก็เหนี่ยวนำให้เกิดงานศิลปกรรมอันวิจิตร ด้วยแนวคิดที่ยึดเอา จริยวัตรอันงดงามของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นสรณะ”
โดยนายอนันต์ วงษ์ศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พระราชวังสนามจันทร์) ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศระดับมหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวความคิดของภาพวาดว่า “ผมต้องการที่จะสื่อถึง มุมมองของเด็กแต่ละคนที่เขาได้ทราบถึงชีวประวัติ และจินตนาการถึงหลวงปู่มั่น ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธา เพลิดเพลินไปกับการถ่ายทอดเรื่องราวไม่ว่าท่านจะไปที่ใด ก็มักจะมีประชาชนเลื่อมใส และขอติดตามไปด้วยจากการเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ของท่านทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก เพราะฉะนั้นการไปของท่านก็คือการนำหลักธรรมไปเผยแผ่ในตัวทำให้เกิด สันติภาพ สันติธรรม และสันติสุข
ส่วนรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคลทั่วไป นายสุรพันธ์ ขวัญแสนสุข กล่าวถึงแนวคิดของการวาดภาพนี้ว่า ผมนำเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวิธีการปฏิบัติกรรมฐานตาม แนวของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต โดยใช้แนวทางแบบ “กาย คตาสติภาวนา ”เป็นหลักปฏิบัติ แนวทางดังกล่าวเป็นการ พิจารณากรรมฐาน ๕ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็น องค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติกรรมฐาน หลักดังกล่าวเมื่อพิจารณาโดยถ่องแท้แล้วจะเห็นว่าร่างกาย ของมนุษย์นี้เป็นสิ่งไม่น่ารักใคร่ ยึดถือควบคุมไม่ได้จนเกิดความ เบื่อหน่าย คลายความยึดมั่นถือมั่น
ดังนั้นแล้วมุมมองที่มีต่อเพื่อนมนุษย์จะเป็นไปในลักษณะของผู้ร่วมเกิดร่วมตาย เกิด ความเมตตา มุมมองดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญใน กระบวนการสร้างสันติภาพ”
พระอาทิตย์ อธิปุญโญ (วงศ์แสนสุข) ประธานจัดงานฯ กล่าวในตอนท้ายว่า “นอกจากนี้ขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งคณะกรรมการ คณาจารย์จากสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร สื่อมวลชนทุกแขนง และผู้มีส่วนผลักดันร่วมในการมอบทุนการศึกษา คุณบุญชัย กอบสมบัติ คุณสุปราณี โยธินอุปมัย คุณโฉมฉาย อรุณฉาน
….เป็นที่น่ายินดีว่า กิจกรรมการประกวดภาพวาดในครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีผู้ส่งภาพเข้าประกวดถึง 6,000 กว่าภาพ ซึ่งครั้งนี้เป็นการจัดครั้งแรก เราจึงอยากฝากติดตามกิจกรรมดีๆ ที่น่าสนใจในกิจกรรม 153 ปีชาตกาล และในปี ต่อๆไป เพื่อน้อมรำลึกถึงหลวงปู่มั่นสืบไป”
ติดตามการประกาศรายชื่อผู้รับรางวัลทุนการศึกษา ใบประกาศเกียรติบัตร และการรับรางวัล ได้ที่ Facebook Fanpage : BMC TV หรือที่ สถานีโทรทัศน์ BMCTV